วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เสียงของผู้ประกอบการและประชาชน ใน อ.วังน้ำเขียว กับความเป็นไปได้ของทางออก (ตอน 3)


หัวข้อ: การให้อำนาจรัฐประกาศเขตอุทยานแห่งชาติกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่?
ผู้เขียน: เด็กหญิงวังน้ำเขียว
               
                จากกรณีปัญหาการทับซ้อนระหว่างพื้นที่อุทยานแห่งชาติกับพื้นที่ของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่มาก่อนมีการประกาศแนวเขตอุทยาน อาจทำให้เกิดความสงสัยและความแคลงใจของชาวบ้านได้ว่า ทำไมถึงมีกฎหมายให้อำนาจรัฐในการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติทับที่ทำกินของชาวบ้านเช่นนี้
เพื่อคลายข้อข้องใจ เด็กหญิงวังน้ำเขียวขออาสานำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญคำวินิจฉัยที่ 33/2554 มาสรุปให้เพื่อนๆชาวบล็อคได้เข้าใจในการใช้อำนาจของรัฐตามกฎหมายและสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญกันค่ะ
ปัจจุบันกฎหมายที่ให้อำนาจรัฐในการประกาศพื้นที่ใดเป็นอุทยานแห่งชาตินั้น อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ..2504 มาตรา 6 ซึ่งบัญญัติว่า เมื่อรัฐบาลเห็นสมควรกำหนดบริเวณที่ดินแห่งใดที่มีสภาพธรรมชาติเป็นที่น่าสนใจ ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมเพื่อสงวนไว้ให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน ก็ให้มีอำนาจกระทำได้โดยประกาศพระราชกฤษฎีกาและให้มีแผนที่แสดงแนวเขตแห่งบริเวณที่กำหนดนั้นแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาด้วย บริเวณที่กำหนดนี้เรียกว่า อุทยานแห่งชาติ
ที่ดินที่จะกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาตินั้น ต้องเป็นที่ดินที่มิได้อยู่ในกรรมสิทธิ์หรือครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายของบุคคลใดซึ่งมิใช่ทบวงการเมือง
การที่มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ..2504 ได้ให้อำนาจรัฐบาลในการประกาศแนวเขตอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศพระราชกฤษฏีกานั้น มีประเด็นที่ต้องวินิฉัยว่าขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 66[1] และ 67[2] หรือไม่?
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้ว่าพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ..2504 มาตรา 6 ให้อำนาจรัฐบาลสามารถดำเนินการประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตอุทยานแห่งชาติได้ และไม่ได้มีสาระเกี่ยวกับการใช้สิทธิและการมีส่วนร่วมของประชาชนก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะสามารถดำเนินการได้ตามอำเภอใจโดยไม่ต้องคำนึงถึงสิทธิตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายกำหนด ในทางกลับกันหากหากเจ้าหน้าที่ไม่ปฎิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหรือกระทำการละเมิดสิทธิของประชาชน ก็ไม่ได้ตัดสิทธิชุมชนที่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐ
 และการที่มาตรา 6 กำหนดให้รัฐบาลมีอำนาจประกาศพื้นที่ที่มีสภาพธรรมชาติเป็นที่น่าสนใจให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติได้นั้น ก็มีเจตนารมณ์เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ และรักษาประโยชน์ของประชาชนโดยรวมเป็นสำคัญ โดยมีเงื่อนไขในการประกาศไว้ว่า พื้นที่ที่จะประกาศต้องมิได้อยู่ในกรรมสิทธิ์หรือการครอบครองโดยชอบของบุคคลใดซึ่งมิใช่ทบวงการเมือง ประกอบกับบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ห้ามการนำกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสองมาใช้
ส่วนความเดือดร้อนหรือผลกระทบที่ชุมชนอาจได้รับอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐนั้นเป็นเรื่องที่ต้องไปดำเนินการฟ้องร้องคดีต่อศาลที่มีเขตอำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
ดังนั้นพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.. 2504 มาตรา 6 ไม่กระทบต่อสิทธิมนุษยชน และไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว เด็กหญิงวังน้ำเขียวขอสรุปสั้นๆเพื่อความเข้าใจอีกครั้งว่า การที่รัฐมีอำนาจประกาศเขตอุทยานไม่ขัดต่อสิทธิมนุษยชน เพราะอำนาจดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ อีกทั้งพื้นที่ที่เป็นของเอกชนตามประมวลกฎหมายที่ดินจะถูกกันออกจากพื้นที่อุทยาน และไม่ได้ตัดสิทธิชุมชนในการฟ้องร้องเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ละเมิดสิทธิตามกฎหมาย
เช่นนี้แล้วเด็กหญิงวังน้ำเขียวก็หวังว่าคงช่วยคลายความสงสัยของเพื่อนๆได้ไม่มากก็น้อยนะคะ แล้วพบกันใหม่ตอนหน้าค่ะ ส่วนจะเป็นเรื่องอะไรติดตามตอนต่อไปคะ 




[1] มาตรา ๖๖  บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน

[2] มาตรา ๖๗  สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บำรุงรักษา และการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ  และในการคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม
การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้  เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน  และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน  รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว
สิทธิของชุมชนที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัตินี้ ย่อมได้รับความคุ้มครอง

เทปบันทึกภาพการสำรวจความคิดเห็น เกี่ยวกับการเข้าไปท่องเที่ยวและใช้บริการในรีสอร์ทที่ผิดกฎหมายบริเวณอุทยานแห่งชาติทับลาน

วันนี้เด็กหญิงวังน้ำเขียวภูมิใจเสนอ เทปบันทึกภาพการสำรวจความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติของกลุ่มบุคคลตัวอย่างจำนวน 100คน เกี่ยวกับการเข้าไปท่องเที่ยวและใช้บริการรีสอร์ทที่ผิดกฎหมายบริเวณอุทยานแห่งชาติทับลาน อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา มารับชมกันได้เลยนะคะ^^
 
 

เข้าไปเยี่ยมชมเพจ เที่ยวไทยอุ่นใจ ไม่ทำร้ายป่า ทาง facebook ของเราได้ที่ : http://www.facebook.com/pages/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%88-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2/192501247557786

เจอคำสั่งโดนรื้อถอนรีสอร์ทต้องโต้แย้งอย่างไร!?


หลังจากเจ้าหน้าที่กรมอุทยานมีคำสั่งทางปกครองให้ผู้บุกรุกอุทยาน รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากอุทยานแล้ว เจ้าของหรือผู้ประกอบการที่ได้รับคำสั่งจะมีวิธีในการโต้แย้งคำสั่งอย่างไรเพื่อปกป้องสิทธิของตน!?

วันนี้เรามาดูขั้นตอนการอุทธรณ์คำสั่งเจ้าหน้าที่กรมอุทยานกันคะ!!


การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์

(1)    ผู้กระทำผิดมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองที่ให้ทำลายหรือรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งทางปกครอง โดยยื่นต่อผู้ออกคำสั่ง(หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ) ทั้งนี้ คำอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือโดยระบุข้อโต้แย้ง และข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอ้างอิง (พรบ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ..2539 มาตรา 55 วรรคหนึ่งและวรรคสอง)

(2)    หัวหน้าอุทยานแห่งชาติต้องพิจารณาอุทธรณ์ และแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับคำอุทธรณ์(พรบ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ..2539 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง)
กรณีเห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ ให้เปลี่ยนแปลง/แก้ไข/ยกเลิกคำสั่งฯ ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับอุทธรณ์ ในกรณีไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ให้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติรายงานความเห็นพร้อมเหตุผลไปยังผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับคำอุทธรณ์ (พรบ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ ..2539 มาตรา 45 วรรคหนึ่งและวรรคสอง)

(3)    ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ต้องพิจารณาคำอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จ และแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับรายงานจากหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่อาจพิจารณาคำอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวได้ ให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าว ในการนี้ให้ขยายระยะเวลาในหารพิจารณาคำอุทธรณ์ออกไปได้ไม่เกิน 30 วัน (พรบ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ ..2539 มาตรา 45 วรรคสอง) แล้วแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์ทราบ

 






เข้าไปเยี่ยมชมเพจ เที่ยวไทยอุ่นใจ ไม่ทำร้ายป่า ทาง facebook ของเราได้ที่ : http://www.facebook.com/pages/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%88-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2/192501247557786

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

รายชื่อผู้ถูกดำเนินคดีในความผิดฐานบุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน ในท้องที่อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

***เฉพาะกรณที่ปรากฎชื่อผู้กระทำผิดและเป็นการสร้างสิ่งปลูกสร้างบุกรุกอุทยานฯเท่านั้น***




1.    กรณีคดีสิ้สุดในชั้นศาล ซึ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดโดยสร้างสิ่งปลูกสร้างบุกรุกอุทยานแห่งชาติทับลาน และอยู่ในระหว่างการดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ตามมาตรา 22 พรบ.อุทยานแห่งชาติ พ.. 2504

ลำดับที่
รายชื่อผู้บุรุกอุทยานแห่งชาติทับลาน ใน อ.วังน้ำเขียว และ อ.นาดี
คดีสิ้นสุดในชั้นศาล
(ในส่วนของคดีอาญา)
ขั้นตอนตามมาตรา 22
1.
นายวิเชียร  เอมอุ่นจิตร์ กับพวกรวม 10 คน
(โครงสร้างบ้านพัก 1 หลัง)
ป่าทรัพย์พลู ตำบลอุดมทรัพย์ อำเภอวังน้ำเขียว
จังหวัดนครราชสีมา
ศาลอุทธรณ์
รื้อถอนแล้วเสร็จ
2.
นายสมชาย  คูหาแก้ว
(บ้านพักตากอากา 1 หลัง)
ป่าทรัพย์พลู ตำบลอุดมทรัพย์ อำเภอวังน้ำเขียว
จังหวัดนครราชสีมา
ศาลอุทธรณ์
รื้อถอนแล้วเสร็จ
3.
นายกอบศักดิ์ ชินวงศ์วัฒนา
(บ้านพักตากอากาศ 3 หลัง)
ป่าทรัพย์พลู ตำบลอุดมทรัพย์ อำเภอวังน้ำเขียว
จังหวัดนครราชสีมา
ศาลชั้นต้น
รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างแล้วโดยเจ้าของดำเนินการเอง
4.
คลองกระทิงคันทรีวิว
(รีสอร์ท 87 หลัง)
อ่างเก็บน้ำห้วยขมิ้น ตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
ศาลชั้นต้น
รื้อถอนแล้วเสร็จ
แต่มีการฟ้องศาลปกครอง
 
5.
ไร่กุลละวณิชย์
(รีสอร์ท 19 หลัง)
ป่าบ้านกุลวนิช ตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
ศาลชั้นต้น
รื้อถอนแล้วเสร็จ
6.
นายประสิทธิ์ จิรดำรงค์
(บ้านพักตากอากาศ 2 หลัง)
ป่าน้ำตกห้วยใหญ่ ตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
ศาลชั้นต้น
รื้อถอนแล้วเสร็จ
แต่มีการฟ้องศาลปกครอง
7.
บ้านทะเลหมอกรีสอร์ท
(รีสอร์ท 20 หลัง)
ป่าบ้านกม.80 ตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี
ศาลชั้นต้น
อยู่ระหว่างการรื้อถอน
8.
บ้านผางามรีสอร์ท
(รีสอร์ท 21 หลัง)
ป่าบ้านกม.80 ตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี
ศาลชั้นต้น
แต่มีคำร้องขอรื้อฟื้นคดีอาญาอยู่ในชั้นอุทธรณ์
อยู่ระหว่างขออนุมัติรื้อถอน
มีการฟ้องศาลปกครอง

 หมายเหตุ กรณีมีการฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครอง ไม่ป็นเหตุการทุเลาการบังคับคดี หากศาลไม่ได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว

 

2. กรณีคดียังไม่ถึงที่สุด แต่อยู่ในระหว่างการดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ตามมาตรา 22 พรบ.อุทยานแห่งชาติ พ.. 2504

ลำดับที่
รายชื่อจำเลยในคดีบุกรุกอุทยานแห่งชาติทับลาน ใน อ.วังน้ำเขียว
คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของชั้นศาล
(ในส่วนของคดีอาญา)
ขั้นตอนตามมาตรา 22
1.
ไร่กฤษวรรณ
(รีสอร์ท 17 หลัง)
ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
ศาลฎีกา
อยู่ระหว่างขออนุมัติรื้อถอน
2.
นายสุรกิจ กุลกำม์ธร
(บ้านพักตากอากาศ 1 หลัง)
ป่าทรัพย์พลู ตำบลอุดมทรัพย์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
ศาลฎีกา
รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างแล้วโดยเจ้าของดำเนินการเอง

 

3.    กรณีคดีสิ้นสุดในชั้นอัยการ เนื่องจากอัยการสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องเพราะจำเลยขาดเจตนาบุกรุก แต่อยู่ในระหว่างการดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ตามมาตรา 22 พรบ.อุทยานแห่งชาติ พ.. 2504

 
ลำดับที่
รายชื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีบุกรุกอุทยานแห่งชาติทับลาน ซึ่งอัยการสั่งไม่ฟ้อง หรือศาลยกฟ้อง
คดีสิ้นสุดในชั้น
ขั้นตอนตามมาตรา 22
1.
นายประกิตเผ่า ทมทิตชงค์
(บ้านพักตากอากาศ 3 หลัง)
ป่าทรัพย์พลู ตำบลอุดมทรัพย์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
อัยการสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง
รื้อถอนเสร็จแล้ว
2.
อิมภูฮิลล์
(รีสอร์ท 16 หลัง)
ตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
อัยการสั่งไม่ฟ้องเด็ดขาด
อยู่ระหว่างขออนุมัติรื้อถอน
และอยู่ในระหว่างการอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด

 

4.    ผู้ต้องหาหลบหนี แต่อยู่ในระหว่างการดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ตามมาตรา 22 พรบ.อุทยานแห่งชาติ พ.. 2504

ลำดับที่
รายชื่อผู้ต้องหาหลบหนี
สถานะคดี
ขั้นตอนตามมาตรา 22
1.
นายรนกร พิชัยโยธิน
(บ้านพักตากอากาศ 1 หลัง)
ป่าทรัพย์พลู ตำบลอุดมทรัพย์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
งดการสอบสวน
อยู่ระหว่างการขออนุมัติรื้อถอน

 

5.    คดีอยู่ในระหว่างชั้นพนักงานสอบสวน และยังไม่ได้เริ่มการดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ตามมาตรา 22 พรบ.อุทยานแห่งชาติ พ.. 2504

ลำดับที่
รายชื่อผู้ต้องหาในคดีบุกรุกอุทยานแห่งชาติทับลาน ซึ่งอยู่ในชั้นพนักงานสอบสวน
1.
นายสมพงษ์  มณีศรี
(โครงสร้างบ้านพัก 1 หลัง)
ป่าห้วยขมิ้น ตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
2.
บ้านครบดิน
(โครงสร้างบ้านพัก 11 หลัง)
ป่าห้วยซับบอน ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
3.
นายวัลลภ ดีหมั่น
(บ้านพักมั่นคงและโครงสร้างบ้านพัก 16 หลัง)
ทิศตะวันออกบ้านไทยสามัคคี ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียวจังหวัดนครราชสีมา
4.
นายชัยฤทธิ์  จงฟุ้งกลาง กับพวกรวม 2 คน
(บ้านพักตากอากาศ)
ป่าด้านทิศตะวันออกบ้านไทยสามัคคี ตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
5.
นายภาสกร เลิศสุวรรณวงษ์
(บ้านพักมั่นคงถาวรและโตรงสร้างบ้านพัก 2 หลัง)
ป่าตีนเขาวง ตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
6.
นายสงกรานต์ หาญสงคราม กับพวกรวม 2 คน
(บ้านพักตากอากาศ 5 หลัง)
ป่าห้วยขมิ้น ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
7.
นายทองคำ จ้ายนอก
(บ้านพักตากอากาศ 11 หลัง)
ป่าคลองกระทิง หมู่ที่ 2 ตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียวจังหวัดนครราชสีมา
8.
นางสาวเบญญาภา พีระศานต์
(บ้านพักตากอากาศ)
บ้านสวนห้อม หมู่ 2 ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียวจังหวัดนครราชสีมา
9.
นางสาวสุรีรัตน์  หอมคำปัง
(บ้านพักตากอากาศ  4 หลัง)
หมู่ 2 ตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียวจังหวัดนครราชสีมา
10.
นางสัญลักษณ์ คูรัตน์
(บ้านพักตากอากาศ)
หมู่ 2 ตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียวจังหวัดนครราชสีมา
11.
นายสกล ฮุ่นเอี่ยม
(บ้านพักตากอากาศ)
บ้านสุขสมบูรณ์ หมู่ 2 ตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียวจังหวัดนครราชสีมา

หมายเหตุ ทั้งนี้ยังมีคดีบุกรุกอุทยาน ในท้องที่ อ. วังน้ำเขียว ซึ่งไม่ปรากฎชื่อผู้กระทำความผิด โดยอยู่ในชั้นพนักงานสอบสวน อีกเป็นจำนวนกว่า 278 คดี และเป็นคดีบุกรุกที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้างเป็นจำนวน 10 คดี รวมคดีบุกรุกทั้งสิ้น 310 คดี
เข้าไปเยี่ยมชมเพจ เที่ยวไทยอุ่นใจ ไม่ทำร้ายป่า ทาง facebook ของเราได้ที่ : http://www.facebook.com/pages/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%88-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2/192501247557786
………………………………………………………………………………………….

ข้อมูลวันที่ 29 ตุลาคม 2555

อ้างอิง: สรุปผลการดำเนินคดีบุกรุกพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ท้องที่อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา จากข้อมูลของกรมอุทยานแห่งชาติฯ