วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

เสียงของผู้ประกอบการและประชาชน ใน อ.วังน้ำเขียว กับความเป็นไปได้ของทางออก (ตอน 2)

                                                                                                                                        ผู้เขียน: เด็กหญิงวังน้ำเขียว
หัวข้อ: รีสอร์ทบุกรุกอุทยานจำเป็นต้องรื้อจริงหรือ?



             มีประชาชนจำนวนไม่น้อยตั้งข้อสงสัยว่าการทุบ ทำลาย และรื้อถอนรีสอร์ทซึ่งสร้างเสร็จแล้วออกจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานนั้นเป็นทางออกทางเดียวที่ดีที่สุดแล้วหรือไม่ เนื่องจากรีสอร์ทที่สร้างเสร็จแล้วเหล่านั้นนอกจากจะมีความสวยงามแล้ว ยังช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้จากนักท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง จนเกิดคำถามว่าเช่นนี้แล้วรัฐจะรับมอบรีสอร์ทที่ผิดกฎหมายเหล่านั้นให้เป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ แล้วค่อยปล่อยให้ผู้ประกอบการเช่าในฐานะอาคารราชพัสดุได้หรือไม่

ในกรณีเช่นนี้ได้มีความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การรับมอบอาคารและสิ่งปลูกสร้างเพื่อหาประโยชน์ในกิจการของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เรื่องเสร็จที่ 0444/2553 วินิจฉัยว่าการที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ้านทะเลหมอกรีสอร์ท ซึ่งเป็นเอกชนเข้าไปดำเนินการก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินของรัฐที่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ และได้ดำเนินการในภายหลังที่มีการกำหนดเขตอุทยานแห่งชาติแล้ว เป็นกรณีที่เอกชนเข้ามาดำเนินการยึดถือครอบครองที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติ รวมตลอดถึงก่นสร้างแผ้วถางป่าโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นข้อห้ามตามมาตรา 16 (1) และ (13) แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติฯ  และเมื่อศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตามมาตรา 16 (1) (4) และ (13) แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติฯ ดังนั้น การก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างของห้างหุ้นส่วนจำกัดฯ จึงเป็นการดำเนินการที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ และโดยที่มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้มีอำนาจสั่งให้ทำลายหรือรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งอื่นใดในอุทยานแห่งชาติที่ผิดไปจากสภาพเดิมหรือทำให้สิ่งนั้นกลับคืนสู่สภาพเดิม กรมอุทยานแห่งชาติฯ จึงไม่มีอำนาจรับมอบอาคารและสิ่งปลูกสร้างของห้างหุ้นส่วนจำกัดฯ

                จึงสรุปได้ว่า หากเป็นรีสอร์ทที่บุกรุกอุทยานแล้วย่อมเป็นสิ่งปลูกสร้างที่เกิดจากการกระทำผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่ต้องปฎิบัติตามที่กฎหมายกำหนด กล่าวคือ เจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯต้องเข้ารื้อถอนตามมาตรา 22 พรบ.อุทยานแห่งชาติ พ..2504 ไม่สามารถที่จะยกเป็นกรรมสิทธิ์ให้แก่รัฐและปล่อยให้ผู้กระทำความผิดเช่าได้

                ฉะนั้น แม้ว่าในประเด็นนี้จะยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลออกมาเป็นบรรทัดฐานว่าการกระทำดังกล่าวที่ให้กรรมสิทธิ์ในรีสอร์ทบุกรุกป่าตกแก่รัฐ แล้วรัฐค่อยปล่อยให้เอกชนเช่านั้นทำได้หรือไม่ แต่การที่มีความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาก็เป็นการผูกพันให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติตาม และเป็นการเตือนสติของนายทุนทั้งหลายที่ต้องการสร้างรีสอร์ทในเขตอุทยานแห่งชาติ การกระทำของท่านจะเป็นการบุกรุกอุทยานซึ่งเป็นความผิดทางอาญา และรีสอร์ทที่คุณสร้างขึ้นจะต้องถูกรื้อถอนตามกฎหมาย


 
นี่ก็เป็นเป็นภาพตัวอย่างการรื้อถอนรีสอร์ทบุกรุกอุทยานแห่งชาติทับลานค่ะ! เห็นอย่างนี้แล้วก่อนไปเที่ยววังนำ้เขียว อย่าลืมตรวจสอบ list รายชื่อรีสอร์ทก่อนเข้าพักให้ดีนะคะ ว่ากำลังอยู่ในระหว่างการรื้อถอนหรือเปล่า!~ มาเที่ยวกันอย่างอุ่นใจดีกว่าค่ะ ❤
 
 


เข้าไปเยี่ยมชมเพจ เที่ยวไทยอุ่นใจ ไม่ทำร้ายป่า ทาง facebook ของเราได้ที่ : http://www.facebook.com/pages/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%88-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2/192501247557786

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น