วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

การบังคับใช้กฎหมาย แนวคิดและแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับบุกรุกอุทยานแห่งชาติ


แนวคิด ป่าก็คือป่า ผู้ใดจะยึดถือครอบครองเป็นเจ้าของมิได้ และทางราชการนอกจากต้องป้องกันมิให้มีการบุกรุกทำลายป่าแล้วยังมีภารกิจสำคัญต้องยึดป่าคืนจากผู้บุกรุกด้วย

แนวทางการดำเนินงาน เมื่อพบการบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองหรือทำประโยชน์ในเขตอุทยานแห่งชาติ แบ่งพิจารณาดำเนินการได้ ดังนี้

                ข้อ 1. พบตัวผู้กระทำผิด

(1)      ดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ในส่วนของการบุกรุกอุทยานแห่งชาติ เจ้าหน้าที่กรมอุทยานจะดำเนินการเข้าจับกุมผู้กระทำความผิดตาม ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นการกระทำความผิดจากการฝ่าฝืนมาตรา 16 ประกอบ มาตรา 24, 25, 26 และ 27 พรบ.อุทยานแห่งชาติ พ.. 2504

มาตรา 16 “ภายในเขตอุทยานแห่งชาติ ห้ามมิให้บุคคลใด

(1) ยึดถือหรือครอบครองที่ดิน รวมตลอดถึงก่อสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า

(2) เก็บหา นำออกไป ทำด้วยประการใดๆ ให้เป็นอันตราย หรือทำให้เสื่อมสภาพ ซึ่งไม้ ยางไม้ น้ำมันยาง น้ำมันสน แร่หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น

(3) นำสัตว์ออกไป หรือทำด้วยประการใดๆ ให้เป็นอันตรายแก่สัตว์

(4) ทำด้วยประการใดๆ ให้เป็นอันตรายหรือทำให้เสื่อมสภาพแก่ดิน หิน กรวด หรือทราย

(5) เปลี่ยนแปลงทางน้ำหรือทำให้น้ำในลำน้ำ ลำห้วย หนอง บึง ท่วมท้นหรือเหือดแห้ง

(6) ปิดหรือทำให้กีดขวางแก่ทางน้ำหรือทางบก

(7) เก็บหา นำออกไป ทำด้วยประการใดๆ ให้เป็นอันตราย หรือทำให้เสื่อมสภาพ ซึ่งกล้วยไม้ น้ำผึ้ง ครั่ง ถ่านไม้ เปลือกไม้ หรือมูลค้างคาว

(8) เก็บ หรือทำด้วยประการใดๆ ให้เป็นอันตรายแก่ดอกไม้ ใบไม้ หรือผลไม้

(9)นำยานพาหนะเข้าออกหรือขับขี่ยานพาหนะในทางที่มิได้จัดไว้เพื่อการนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่

(10) นำอากาศยานขึ้นลงในที่ที่มิได้จัดไว้เพื่อการนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่

(11) นำหรือปล่อยปศุสัตว์เข้าไป

(12) นำสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์พาหนะเข้าไป เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติของรัฐมนตรี

(13) เข้าไปดำเนินกิจการใดๆ เพื่อหาผลประโยชน์ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่

(14) ปิดประกาศ โฆษณา หรือขีดเขียนในที่ต่างๆ

(15)นำเครื่องมือสำหรับล่าสัตว์หรือจับสัตว์ หรืออาวุธใดๆ เข้าไป เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และปฏิบัติตามเงื่อนไขซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้อนุญาตนั้นกำหนดไว้

(16) ยิงปืน ทำให้เกิดระเบิดซึ่งวัตถุระเบิด หรือจุดดอกไม้เพลิง

(17) ส่งเสียงอื้อฉาวหรือกระทำการอื่นอันเป็นการรบกวน หรือเป็นที่เดือดร้อนรำคาญแก่คนหรือสัตว์

(18) ทิ้งขยะมูลฝอยหรือสิ่งต่างๆ ในที่ที่มิได้จัดไว้เพื่อการนั้น

(19) ทิ้งสิ่งที่เป็นเชื้อเพลิงซึ่งอาจทำให้เกิดเพลิง

 

มาตรา 24 “ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 16 (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

           

มาตรา 25 “ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 16 (6) (7) (9) (10) (11) มาตรา 17 หรือมาตรา 18 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

มาตรา 26 “ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 16 (2) (3) (4) หรือ (7) ถ้าปรากฏว่าสัตว์หรือทรัพย์สินที่เก็บหาหรือนำออกมีราคาเพียงเล็กน้อย หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นมีเพียงเล็กน้อย ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

 

มาตรา 27 “ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 16 (8) (12) (13) (14) (15) (16) (17) (18) หรือ (19) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

 

เมื่อเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯดำเนินการจับกุมผู้บุกรุกอุทยานฯ ซึ่งเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 16 และมีบทลงโทษทางอาญาตามมาตรา 24, 25, 26 และ 27 พรบ.อุทยานแห่งชาติ พ.. 2504 เจ้าหน้าที่จะทำการแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้พนักสอบสวนทำสำนวนส่งให้พนักงานอัยการ เพื่อให้อัยการสั่งฟ้องเป็นคดีอาญาต่อไป

ทั้งนี้ การบุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติ อาจเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ..2484 และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ..2507 อีกประการหนึ่ง

 

(2)      ใช้มาตรการตามมาตรา 22 พรบ.อุทยานแห่งชาติ พ.. 2504

มาตรา 22 “ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ เป็นเหตุให้มีสิ่งปลูกสร้างขึ้นใหม่หรือมีสิ่งอื่นใดในอุทยานแห่งชาติผิดไปจากสภาพเดิม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้กระทำความผิดทำลายหรือรื้อถอนสิ่งนั้นๆ ออกไปให้พ้นอุทยานแห่งชาติ หรือทำให้สิ่งนั้นๆ กลับคืนสู่สภาพเดิม แล้วแต่กรณี ถ้าผู้กระทำความผิดไม่ปฏิบัติตาม หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้กระทำความผิด หรือเพื่อป้องกันหรือบรรเทาความเสียหายแก่อุทยานแห่งชาติ พนักงานเจ้าหน้าที่จะกระทำการดังกล่าวแล้วอย่างใดอย่างหนึ่งเสียเองก็ได้ตามสมควรแก่กรณี และผู้กระทำความผิดมีหน้าที่ชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปในการที่พนักงานเจ้าหน้าที่กระทำการเสียเองนั้น

 

การที่เจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯใช้อำนาจตามมาตรา 22 ในการสั่งให้ผู้กระทำความผิดทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างซึ่งบุกรุกอุทยานแห่งชาตินั้น เป็นการใช้มาตรการทางปกครอง ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถออกคำสั่งทางปกครองโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 22 พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.. 2504 ให้ผู้บุกรุกรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างได้โดยไม่ต้องรอคำสั่งศาล เนื่องจากเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานโดยแท้ แต่ทั้งนี้การออกคำสั่งดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติราชการทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ..2539 ซึ่งเปิดโอกาสให้คู่กรณีได้มีสิทธิโต้แย้ง แสดงพยานหลักฐาน รวมถึงการอุทธรณ์คำสั่ง เป็นต้น

                ทั้งนี้ หากผู้รับคำสั่งทางปกครองไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ผู้รับคำสั่งมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อคัดค้านคำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อไป

(3)      ฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับป่านั้นๆ ตามมาตรา 97 พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ  ..2535

มาตรา 97 “ผู้ใดกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการทำลายหรือทำให้สูญหายหรือเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นของรัฐ หรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่รัฐตามมูลค่าทั้งหมดของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลาย สูญหาย หรือเสียหายไปนั้น

การคิดค่าเสียหายนั้น มีการให้นักวิชาการเข้ามาประเมินมูลค่าความเสียหายจากการบุกรุกอุทยานแห่งชาติ แล้วจึงนำคดีขึ้นสู่ศาล ฟ้องเป็นคดีแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายโดยอาศัยสิทธิตาม มาตรา 97 พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ..2535

ข้อ 2. กรณีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องผู้ต้องหา หรือศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องจำเลย โดยเหตุผลว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยขาดเจตนากระทำผิด เช่นนี้หมายความว่า พนักงานอัยการหรือศาลยังฟังว่าพื้นที่เกิดเหตุเป็นป่า แต่ฟ้องผู้ต้องหาหรือลงโทษจำเลยไม่ได้เพราะผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีเจตนาบุกรุกป่า ซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิดทางอาญา ในกรณีให้พิจารณาดังนี้

(1)     ใช้มาตรการตามมาตรา 22 พรบ.อุทยานแห่งชาติ พ.. 2504

(2)     ฟ้องคดีแพ่งขับไล่ให้ออกจากป่าที่ยึดถือครอบครอง

ข้อ 3.ไม่พบตัวผู้กระทำความผิด

(1)     แจ้งความร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบ

(2)     ใช้มาตรการตามมาตรา 22 พรบ.อุทยานแห่งชาติ พ..2504

ข้อ 4. กรณีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง (ซึ่งศาลจะมีคำพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกจากป่าด้วย) ขอให้ติดตามตรวจสอบว่าหลังจากมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วจำเลยยังคงอยู่ในพื้นที่ป่าหรือไม่ หากอยู่ ให้พิจารณาดังนี้

(1)     ถ้าเป็นกรณีที่อยู่ต่อเนื่องกันมาตลอด ก็ถือว่าจำเลยไม่ปฎิบัติตามคำพิพากษา ขอให้แจ้งเจ้าพนักงานอัยการเพื่อจะได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลบังคับคดี

(2)     ถ้าปรากฏหลักฐานข้อเท็จจริงชัดเจนว่าจำเลยได้ออกจากป่าที่เกิดเหตุและขาดตอนจากที่เคยยึดถือครอบครองแล้ว แต่ต่อมาภายหลังได้กลับเข้ามายึดถือครอบครองทำประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวอีก เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดซ้ำอีก ขอให้จับกุมดำเนินคดีอาญาเป็นเรื่องใหม่

ข้อ 5. การดำเนินการตามมาตรา 22 พรบ.อุทยานแห่งชาติ พ.. 2504 ต้องใช้ความระมัดระวังรอบคอบ และตรวจสอบให้ชัดเจนว่าไม่มีบุคคลใดมีสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายภายในพื้นที่ป่าที่จะเข้าไปดำเนินการ และให้ชัดเจนว่าไม่ใช่พื้นที่ที่บุคคลได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์จาก ส...

ข้อสังเกต : ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่แล้ว ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติจะรอผลในคดีอาญาให้ได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติอุทยานฯเสียก่อน จึงเข้าทำการรื้อถอนโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 22 พรบ.อุทยานแห่งชาติ พ.. 2508


 
เข้าไปเยี่ยมชมเพจ เที่ยวไทยอุ่นใจ ไม่ทำร้ายป่า ทาง facebook ของเราได้ที่ : http://www.facebook.com/pages/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%88-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2/192501247557786

……………………………………………………………………………………………………………………..

อ้างอิง: การบังคับใช้กฎหมาย แนวคิดและแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการบุกรุกทำลายป่า โดยนายสมบูรณ์ ครองสิริวัฒน์ อัยการจังหวัดกระบี่

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น